หมูแพง จนดราม่า เทียบราคาญี่ปุ่นใส่ค่าเงินผิด บอกไทยดีสุดแล้ว

หมูแพง จนดราม่า เทียบราคาญี่ปุ่นใส่ค่าเงินผิด บอกไทยดีสุดแล้ว

หมูแพง โพสต์เทียบราคา ราคาเนื้อหมู วันนี้ ต่างประเทศกับไทย ลั่นที่นี่ดีสุดในโลกแล้ว ชาวเน็ตจับโป๊ะ สกุลเงินผิด แนะควรศึกษาข้อมูลให้มาก ปัญหา หมูแพง ราคาเนื้อหมู วันนี้ ในประเทศที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ยังคงเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายถกเถียงกันมาต่อเนื่อง อีกทั้งปัญหาราคาสินค้าเรื่องปากท้องนี้ยังถือเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน โดยเฉพาะในแง่การแสดงมุมมอง หรือ ความคิดเห็นส่วนตัว ที่อาจกล่าวได้ว่า หากไม่ศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ เชื้อเพลิงแห่งไฟวิจารณ์จะถูกจุดขึ้นได้ง่ายๆ

อย่างเช่นกรณีความเห็นเชิงเปรียบเทียบของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง 

ซึ่งได้เข้าไปโพสต์ข้อมูลของราคาเนื้อหมูในต่างประเทศ เปรียบเทียบกับราคาเนื้อหมูในบ้านเรา ลงกลุ่มเฟซบุ๊ก “พลังเงียบ ปกป้องสถาบัน“ เมื่อวานนี้ (12 ม.ค.65) โดยระบุข้อความว่า “เนื้อหมูที่ต่างประเทศ กก.ละ1000 กว่าบาท ถ้า 3 กีบมีปัญญาสักนิด ควรสำนึกได้แล้วนะ ว่าไทยดีสุดในโลกแล้ว”

นอกจากข้อความแล้ว ยังมีการโพสต์ภาพเนื้อหมูสดของญี่ปุ่น พร้อมระบุตัวเลข กิโลกรัมละ 1057 บาท โดยรายละเอียดเรื่องราคาตัวเลขนี้เองที่ชาวเน็ตจำนวนมากต้องรีบเข้ามาชี้แจงให้เจ้าของโพสต์ทราบโดยด่วน เพราะตามจริงแล้วราคา 1057 บาท นั้น ค่าเงินที่ระบุลงไปต้องเป็น สกุลเงินเยนของประเทศแดนอาทิตย์อุทัย ไม่ใช่ค่าเงินบาทของไทยอย่างที่เจ้าของเรื่องเข้าใจ

เท่านั้นไม่พอ โลกโซเชียล ยังแห่พากันมาให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่า “ทำไม หมูแพง” โดยชาวเน็ตท่าหนึ่งยกตัวอย่าง ค่าครองชีพของต่างประเทศ ที่วันหนึ่งทำงานแล้ว มีรายได้ชั่วโมงละ 270 บาท ซึ่งต่อให้ราคาเนื้อหมูของที่อื่นจะสูง แต่เมื่อเทียบกับรายได้แล้วก็ยังสามารถจ่ายได้ในระดับราคาดังกล่าว สวนทางกับบ้านเรา ที่ค่าครองชีพสวนทางกับค่าแรงที่ยังไม่ได้สูงเท่า แต่ราคาเนื้อหมูกลับพุ่งเกินกำลังซื้ออย่างน่าใจหาย

นอกจากนี้ ราคาเนื้อหมูของญี่ปุ่น 1,057 เยน นั้น เมื่อมาแปลงค่าสกุลเงินเป็นเงินบาทแล้ว ราคาเนื้อหมูของโพสต์นี้ก็จะเท่ากับประมาณ 300 บาทไทย ในเวลานี้นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ จึงมีคำแนะนำจากคอมเมนต์ผู้หวังดี ระบุว่า “การเรียนเยอะๆ หาข้อมูลดีๆ ทันโลก ทันเหตุการณ์ จะช่วยให้พฤติกรรมแบบนี้หายกลับมาเป็นปกติได้”

อย่างไรก็ตาม ชาวเน็ตบางส่วนมองว่า โพสต์เทียบราคานี้มีพิรุธ เพราะอาจเป็นการโพสต์ดักหรือโพสต์ปั่นกระแสก็ได้ เพราะหากคิดอีกแง่หนึ่ง ไม่น่าจะมีคนเข้าใจผิดเรื่องสกุลเงินได้ขนาดนี้

กทม. เชิญชวน ปชช. ที่มีสิทธิ์ร่วมลงเสียง เลือกตั้งซ่อมหลักสี่ 30 ม.ค.

ปลัดกรุงเทพ เชิญชวนประชาชนที่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงให้ร่วมใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียง เลือกตั้งซ่อมหลักสี่ 30 ม.ค. หลังจากที่นาย สิระ เจนจาคะ พ้นเก้าอี้เนื่องจากขาดคุณสมบัติ นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ออกมากล่าวถึงการเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 9 เขตหลักสี่ แทนตำแหน่งว่างที่เคยเป็นของ นาย สิระ เจนจาคะ ว่ามีผู้ลงสมัครลงเลือกตั้งชิงเก้าอี้ว่าง 8 ราย ได้แก่

หมายเลข 1 นายพันธุ์เทพ ฉัตรนะรัชต์ พรรคไทยภักดี

หมายเลข 2 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี พรรคกล้า

หมายเลข 3 นายสุรชาติ เทียนทอง พรรคเพื่อไทย

หมายเลข 4 นางสาวกุลรัตน์ กลิ่นดี พรรคยุทธศาสตร์ชาติ

หมายเลข 5 นายรุ่งโรจน์ อิบรอฮีม พรรคไทยศรีวิไลย์

หมายเลข 6 นายกรุณพล เทียนสุวรรณ พรรคก้าวไกล

หมายเลข 7 นางสรัลรัศมิ์ เจนจาคะ พรรคพลังประชารัฐ

หมายเลข 8 นายเจริญ ชัยสิทธิ์ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน

ทั้งนี้ นับแต่วันปิดรับสมัคร ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง จะตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน จากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้ง หรือสถานที่ที่เห็นสมควร หากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดเห็นว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งตามที่ประกาศรายชื่อนั้นไม่มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อวินิจฉัยคุณสมบัติต่อไป

ในส่วนของกรุงเทพมหานคร ขอเชิญชวนผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส.กทม.เขตเลือกตั้งที่ 9 ไปใช้สิทธิ์ออกเสียงในวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม 2556 เวลา 08.00-17.00 น. ณ หน่วยเลือกตั้งที่มีรายชื่อ สำหรับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์ได้เนื่องจากมีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายผู้อื่นดำเนินการ ณ ฝ่ายทะเบียนชั้น 1, แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงนายทะเบียนท้องถิ่นเขตหลักสี่ หรือแจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์เว็บไซต์สำนักบริการการทะเบียน (แจ้งเหตุจำเป็นไม่ไปใช้สิทธิ์) ซึ่งสามารถแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิ์ได้ 2 ช่วง คือ ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง ระหว่าง 23-29 ม.ค. 2565 หรือหลังวันเลือกตั้งใน 7 วัน คือ 31 ม.ค. 65 – 6 ก.พ. 2565

ถือเป็นการปิดโอกาสเกษตรกรรายอื่น ทำให้ไม่สามารถนำที่ดินไปจัดสรรให้แก่ผู้ยากไร้และไม่มีที่ดินทำกิน ย่อมทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความเคลือบแคลงใจว่า เหตุใดผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงสามารถครอบครองที่ดินจำนวนหลายไร่ในเขตปฏิรูปที่ดินได้ ย่อมเป็นเรื่องที่ ส.ส.ซึ่งควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนทั่วไปไม่พึงปฏิบัติ การกระทำของส.ส.ที่ถือครองที่ดิน ส.ป.ก.จึงเป็นการก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ในการดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรฐานทางจริยธรรมฯ 2561 ข้อ 3 ข้อ 17 ประกอบข้อ 27 วรรสอง นั่นเอง

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป